2015-11-10 11.24.41_resized.jpg

คำนำ

               รายงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาในงาน  การเขียนแบบสั่งผลิต (Working Drawings)  เพื่อให้เข้าใจ ถึงความหมาย และความสำคัญของ การเขียนแบบเพื่อสั่งผลิต ให้มีความรู้  ความเข้าใจ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของนักเรียนนักศึกษา ต่อไป

                อนึ่ง กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่นนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อ นักเรียน นักศึกษา และท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 

 

                                                                                    นายไพฑูรย์      นัดไป

                                                                                              ผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

การเขียนแบบสั่งผลิต (Working Drawings)

แบบสั่งงาน (Working Drawings) หมายถึง แบบ (drawing, plan) หรือ พิมพเขียว (blueprint) ที่เขียน ขึ้นมาเพื่อแสดงความสัมพันธของชิ้นงาน (parts) ที่ประกอบกันขึ้นเปนเครื่องจักร สวนของเครื่องจักร หรือ ระบบใดระบบหนึ่ง โดยแสดงใหเห็นวา ชิ้นสวน หรือเครื่องจักรมีลักษณะรูปรางอยางไร ประกอบกันอยู อยางไร หรือชิ้นสวนหนึ่งประกอบดวยชิ้นสวนยอยกี่ชิ้น ชิ้นไหนประกอบอยูตําแหนงใด เพื่อใหชางกลโรงงาน หรือผูผลิตสามารถผลิตชิ้นสวน หรือเครื่องจักรไดอยางถูกตอง แบบสั่งงานแบงออกเปน 2 ประเภท ไดแก

  1. แบบแสดงรายละเอียด (Detail Drawings) มีหนาที่แสดงรายละเอียดตางๆ ของแตละชิ้นสวน (individual parts) ในสวนประกอบใหญ (assembly) ชื่ออื่นๆ ที่ใชเรียกแบบแสดงรายละเอียด     ไดแก แบบรายละเอียด แบบแยกชิ้น (ดูรูปที่ 1)
  2. แบบประกอบ (Assembly Drawings) มีหน้าที่แสดงว่าแต่ละชิ้นส่วนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ประกอบเข้ากันเป็นส่วนประกอบใหญ่ หรือผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้อย่างไร (ดูรูปที่ 2)

แบบแสดงรายละเอียด (Detail Drawings)

แบบแสดงรายละเอียด ประกอบดวยรายละเอียดของชิ้นงานที่สําคัญ ที่จําเปนตองทราบ เมื่อตองการ สรางชิ้นงานนั้นขึ้นมา โดยทั่วไปนิยมเขียน 1 ชิ้นงานตอแบบ 1 แผน (monodetail, ดูรูปที่ 3) แตในทางปฏิบัติเรา สามารถเขียนหลายๆ ชิ้นงาน (ที่มีความเกี่ยวของกัน) อยูในแบบแผนเดียวก็ได (multidetail, ดูรูปที่ 4) เพื่อเปน การประหยัดเวลาและคาใชจาย รายละเอียดตอไปนี้ ควรจะมีอยูในแบบแสดงรายละเอียด

  1. Shape Description หรือ รูปรางของชิ้นงาน โดยปกติจะนิยมเขียนแบบ Orthographic เหตุผลหนึ่ง คือ เพื่อใหเห็น true length ของชิ้นงาน สําหรับชิ้นสวนที่มีรายละเอียดภายในชิ้นงานมาก ทําใหเวลาเขียน ภาพฉาย จะมีเสนตัดกันเปนจํานวนมาก ก็อาจใชภาพตัดขวาง (sectional view) ชวยในการอธิบายได ในกรณีที่ใชโปรแกรม CAD เราสามารถใชภาพ 3 มิติ (3D Model) เพื่อชวยในการอธิบายรูปรางให ชัดเจนยิ่งขึ้น
  2. Size Description หรือ การบอกขนาด (dimensioning) ใหระบุขนาดชิ้นงานโดยละเอียด เทาที่จําเปน
  3. Notes หรือ บันทึกขอความ (ถึงชางในโรงงาน) ซึ่งอาจจะเปนคําอธิบายวาจะใชเครื่องมืออะไรในการทําชิ้นงานนี้ การเจาะรู ลักษณะของผิวชิ้นงานที่ตองการ คาพิกัดขนาดที่ยอมรับได และอื่นๆ
  4. Title Block หรือ Title Strip หรือ กรอบชื่อแบบ จะประกอบไปดวย ชื่อของชิ้นงาน สถานที่เขียนแบบ หรือ บริษัทเจาของแบบ ชื่อผูเขียนแบบ มาตราสวน วันที่ เลขที่แผน และอื่นๆ (ดูรูปที่ 5)
  5. Scale สเกล หรือ มาตราสวน ในการเลือกสเกล ปกติจะใช 1:1 เรียกวา สเกลเทา (full size) กรณีเขียน ในสเกลยอ ก็อาจใช 1:2 (half size), 1:4, 1:8, … หรือกรณีเขียนสเกลขยาย ก็สามารถใช 2:1 (double size), 4:1, 5:1, … เปนตน โดยทั่วไปเราจะใชเพียงมาตราสวนเดียวในหนึ่งหนากระดาษ ยกเวนจะมี note ชี้แจงสําหรับรูปที่ใชสเกลแตกตางจากรูปอื่นๆ ในหนากระดาษ